รู้เท่าทันกัญชา ทางการแพทย์ไทย : จากที่ล่าสุดมีการประกาศให้กัญชานั้นพ้นจากการเป็นสารเสพติด สามารถทำการปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ภายในบ้านได้เป็นที่รียบร้อยแล้วครับ เมื่อต้นเดือน มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา
แต่ใดๆ นั้น เราเองจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้นะครับ ว่า ผลกระทบ อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้กัญชา นั้น มีอะไรบ้าง รุนแรงแค่ไหน? เพราะบางคนอาจมีการตอบสนองต่อฤทธิ์ของกัญชาที่แตกต่างกัน ลองมาดูกันครับว่า ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการใช้กัญชา มีอะไรบ้าง มาดูกันเลย
ใน หนังสือไม้เทศเมืองไทย สรรพคุณของยาเทศและยาไทย ได้กล่าวไว้ว่า กัญชามีรสเมา กลิ่นเหม็นเขียว มีประโยชน์ทางยา ช่วยให้เจริญอาหาร ชูกำลังแต่ทำให้ใจขลาด แพทย์ตามชนบทใช้ดอกกัญชาผสมรับประทานเป็นยาแก้โรคประสาท คือ นอนไม่หลัย คิดมาก เบื่ออาหาร เหล่านี้ ใช้ยาเข้าผสมกัญชาได้ผลดีมาก
แต่ความเสียหายของกัญชาก็มีมากเหมือนกัน คนที่สูบหรือรับประทานกัญชา จะทำให้เส้นประสาทมึนชา คอแห้ง อยากรับประทานของหวานๆ หรือของน้ำๆ รับประทานอาหารไม่รู้จักอิ่ม หนังตาหนักถ่วงลง ตกใจง่าย เห็นหรือนึกอะไรขบขัน อย่างโดยไม่มีเหตุผล ทำให้เป็นคนขลาด อาการเมาจากการสูบอาจสร่างเมาได้เร็วกว่ารับประทาน
ส่วนใน หนังสือแพทย์ตำบล เล่ม 1 กล่าวไว้ว่า "กัญชา" เมา ทำให้ใจขลาด รับประทานน้อยๆ เป็นยาชูกำลัง เจริญอาหาร ต้นกัญชาที่มีดอกเป็นช่อ ใช้ช่อที่มีดอกและผลทำยา
ประมวลสรรพคุณยาไทย (ภาคหนึ่ง) ว่าด้วย พฤกษชาติ วัตถุธาตุ และสัตว์วัตถุนานาชนิด
กล่าวไว้ว่า
"กัญชา" ประโยชน์ทางยา ปรุงยารับประทานทำให้ง่วงนอนๆ หลับได้มาก อยากอาหาร มึนเมา รับประทานได้ นอนหลับ แต่เป็นยาเสพติดให้โทษ ไม่ควรใช้เป็นนิจสิน
การตอบสนองของร่างกาย เมื่อร่างกายได้รับกัญชามีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคล เช่น การเคลื่อนไหว การตอบสนองทางอารมณ์ ความไวต่อการปวด การเรียนรู้และการจดจำ ที่แตกต่างกัน
- ง่วงนอนมากผิดปกติ
- สับสนวิตกกังวล
- ตกใจง่าย
- วงเวียนศีรษะ มึนงง
- คลื่นไส้อาเจียน
ในร่างกายจะมีระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ (Endocannabinoid system) ที่มีหน้าที่ในการรักษาความสมดุลของร่างกายให้ทำงานเป็นปกติ โดยการควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย
โดยมีตัวรับสาร แคนนาบินอยด์ (Cannabinoids receptor, CB) ที่สำคัญอยู่ 2 ชนิด คือ CB1 และ CB2
โดยที่
CB1 : พบอยู่ในสมองและระบบประสาทส่วนกลาง สามารถพบได้ในเนื้อเยี่อและอวัยวะบางส่วน เช่น ปอด ตับ และไต
CB2 : ส่วนมากพบได้ในเซลล์บางชนิดของระบบภูมิคุ้มกัน ระบบทางเดินอาหาร และในอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น ม้าม และต่อมทอนซิล
อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้กัญชา
อาการผิดปกติที่พบบ่อย คือ
-ง่วงนอนมากกว่าปกติ
-ปากแห้ง คอแห้ง
-วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน
อาการผิดปกติที่ควรไปพบแพทย์
- หัวใจเต้นเร็วและรัวผิดจังหวะ
- เป็นลมหมดสติ
- เจ็บหน้าอก ร้าวไปที่แขน
- เหงื่อแตก ตัวสั่น
- อึดอัดหายใจไม่สะดวก
- เดินเซ พูดไม่ชัด
- สับสนกระวนกระวายใจ วิตกกังวล หวาดระแวงไม่สมเหตุสมผล
- หูแว่ว เห็นภาพหลอน พูดคนเดียว อารมณ์แปรปรวน
How to : วิธีแก้ไขอาการข้างเคียงที่เกิดจากการใช้กัญชา เป็นการเบื้องต้น คือ
- ปากแห้งคอแห้ง : ให้ดื่มน้ำเปล่าตามในปริมาณมากๆ
- แก้เมา : บีบมะนาวครึ่งลูกผสมเกลือปลายช้อน เข้าไปในปากกลืนเข้าไป หรือ เคี้ยวพริกไทยเม็ด
- วิงเวียนศีรษะคลื่นไส้อาเจียน : ให้ดื่มชาชงขิง หรือ น้ำขิง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานจัดการกัญชาและกระท่อมทางการแพทย์ไทย